ปริมาณการซื้อขาย VOLUME (VOL)

VOLUME คือ ปริมาณการซื้อขายของหุ้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณการซื้อขาย มีข้อสังเกตดังนี้ : ความสัมพันธ์ในแง่บวก 1. เมื่อราค...

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปริมาณการซื้อขาย VOLUME (VOL)



VOLUME คือ ปริมาณการซื้อขายของหุ้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณการซื้อขาย มีข้อสังเกตดังนี้ :

ความสัมพันธ์ในแง่บวก

1. เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน และปริมาณการซื้อขายปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นการสนับสนุนการขึ้นของราคา

2. เมื่อราคาที่พุ่งสูงขึ้น ต่อมามีการปรับตัวลง หากปริมาณการซื้อขายปรับตัวลดลงด้วย จะเป็นการแสดงถึงการลดลงชั่วคราวของราคา ก่อนที่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอีกครั้งหนึ่ง

3. การขายอย่างตื่นตระหนก (PANIC SELLING) เกิดขึ้นจากราคาที่มีการลดลงมาเป็นระยะเวลานาน และต่อมาราคาตกดิ่งลงในขณะที่ VOLUME กลับเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นช่วงวิกฤติการขาย (SELLING CLIMAX) ซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของตลาดหรือหุ้น เพราะบ่อยครั้งที่วิกฤติการขาย (SELLING CLIMAX) จะเป็นจุดจบของ BEAR MARKET

ความสัมพันธ์ในแง่ลบ

1. เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน แต่ปริมาณการซื้อขายกลับลดลง จะเป็นการค้านการขึ้นของราคา

2. เมื่อราคาที่ลดลง ต่อมามีการปรับตัวขึ้น แต่หากปริมาณการซื้อขายลดลง จะเป็นการค้านการขึ้นราคาในขณะนั้น

3. เมื่อราคาวิ่งขึ้นกลับไปถึงจุดสูงเก่า แต่ VOLUME ไม่มากเท่ากับ VOLUME ของจุดสูงเก่า จะเป็นการค้านการขึ้นของราคา และอาจนำไปสู่การปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อไป

4. เมื่อราคากับ VOLUME ขึ้นไปด้วยกันช้า ๆ จนถึงระดับหนึ่งแล้ว ราคาวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วโดย VOLUME ได้สูงมากขึ้นผิดปกติ และถ้าหลังจากนั้นราคาเริ่มลดต่ำลง จะถือว่า ณ จุดนั้นเป็นการเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลง

5. ถ้าราคาสูงขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน และเมื่อมาถึงจุดที่ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ VOLUME กลับยังคงสูงมาก จะเป็นสัญญาณเตือนว่ามีการขายระบายหุ้นออกในลักษณะของการโยนหุ้น (มีการซื้อขายกันระหว่างกลุ่มเพื่อไม่ให้ราคาตก) ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อไป

TICK VOLUME

TICK VOLUME เป็นเครื่องมือในการประมาณการซื้อขายของหุ้น หรือสัญญา (FUTURE CONTRACT) ในระหว่างวัน โดยการนับจำนวน TICK (การซื้อขายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง)

TICK VOLUME ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะเป็นการนับจำนวนครั้งที่ราคาเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนครั้งของการซื้อขายสัญญาในราคาหนึ่ง

TICK VOLUME ของการซื้อขายหุ้น จะหมายถึงจำนวน TICK (การซื้อขายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ

ดังนั้นหาก TICK VOLUME มีค่ามาก จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลานั้น ๆ มีปริมาณการซื้อขายมากด้วย


Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม ON BALANCE VOLUME (OBV)



ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม (OBV) เป็นเครื่องมือที่ดูความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อขาย (VOLUME) กับการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งสามารถบอกถึงแนวโน้มของตลาดหรือหุ้นได้ โดยใช้หลักของ DEMAND-SUPPLY ที่ระบุว่า “ราคาหุ้นจะไม่ขึ้นจนกว่า DEMAND จะมากกว่า SUPPLY”

ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม คือ การดูปริมาณหุ้นซื้อขายสะสม โดยนำเอาปริมาณซื้อขายไปบวก เมื่อราคาปิดของวันนั้นสูงกว่าราคาปิดของวันก่อน และเอาปริมาณซื้อขายไปลบ เมื่อราคาปิดของวันนั้นต่ำกว่าราคาปิดของวันก่อน 

ถ้าปริมาณหุ้นสะสมเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นชัดเจนกว่าราคา แสดงว่ากำลังมีเงินจากผู้ลงทุนบางรายเข้ามาซื้อสะสมหุ้นมากขึ้น แต่ถ้าทั้งราคาและปริมาณสะสมวิ่งขึ้นไปด้วยกัน หมายถึงผู้ลงทุนทั่วไปเข้ามาทำการซื้อขายร่วมด้วย ส่วนถ้าราคาขึ้นก่อนปริมาณสะสม ยังไม่ถือว่าเป็นการยืนยันการขึ้นของราคาหุ้นแต่อย่างใด


วิธีหาค่าของ OBV สามารถทำได้ดังนี้ :-

1. ผู้ลงทุนต้องเลือกตัวเลขปริมาณหุ้นเริ่มแรก อาจจะเป็น O หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือตัวเลขอื่นก็ได้

2. ถ้าราคาปิดของหุ้น ณ วันที่เริ่มคำนวณสูงกว่าราคาปิดของวันก่อน ก็ให้นำปริมาณหุ้นที่ซื้อขายกันสำหรับหุ้นในวันนั้น บวกเข้ากับตัวเลขเริ่มแรก แต่ถ้าราคาปิดของหุ้น ณ วันที่เริ่มคำนวณต่ำกว่าราคาปิดของวันก่อน ก็จะนำปริมาณหุ้นที่ซื้อขายในวันนั้นไปลบออกจากตัวเลขเริ่มแรกนั้น

3. ถ้าราคาปิดของหุ้นในวันปัจจุบันสูงขึ้นจากวันก่อน ให้นำปริมาณการซื้อขายของวันปัจจุบันมาบวกเข้ากับ ปริมาณการซื้อขายสะสมจากวันก่อน แต่ถ้าราคาปิดต่ำลง ให้นำปริมาณการซื้อขายของวันปัจจุบัน มาหักจากปริมาณการซื้อขายสะสม ถ้านำค่าปริมาณการซื้อขายสะสมไปกำหนดเป็นเส้นกราฟจะได้เส้น OBV ที่นำไปใช้วิเคราะห์แนวโน้มหรือทิศทาง (DIRECTION) ของราคาหรืออาจเขียนในรูปสูตรได้ใน 2 กรณี ดังนี้

กรณีราคาปิดวันนี้สูงกว่าราคาปิดวันก่อน

OBV วันนี้ = OBV สะสมจากวันก่อน + ปริมาณการซื้อขายวันนี้
กรณีราคาปิดวันนี้ต่ำกว่าราคาปิดวันก่อน
OBV วันนี้ = OBV สะสมจากวันก่อน - ปริมาณการซื้อขายวันนี้

เส้น OBV ควรจะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มราคา (CONFIRMATION) คือถ้าราคามีแนวโน้มสูงขึ้น (UPTREND) เส้น OBV ก็ควรจะมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าราคาหุ้นนั้นยังมีแนวโน้มไปในทิศทางเดิมอยู่ เนื่องจากมีแรงซื้อเข้ามาสนับสนุนมากพอ แต่ถ้าราคามีแนวโน้มต่ำลง (DOWNTREND) เส้น OBV ก็ควรมีแนวโน้มต่ำลงด้วย

แต่ถ้า OBV มีทิศทางต่างกันกับแนวโน้มของราคา (DIVERGENCE) อาทิเช่น เส้นราคาไต่ระดับสูงขึ้น แต่เส้น OBV มีแนวโน้ม ลดต่ำลงก็จะเป็นสัญญาณว่าแรงซื้อได้อ่อนตัวลง และอาจทำให้ราคาเปลี่ยนทิศทางเป็นลงได้
การใช้เส้น OBV เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคานั้นสามารถแยกวิเคราะห์ได้ดังนี้

1. ถ้าราคาหุ้นมีราคาสูงสุดครั้งใหม่พร้อมกับ OBV ด้วย หรือราคาหุ้นลดลงเป็นราคาต่ำสุดครั้งใหม่พร้อมกับเส้น OBV จะเป็นการยืนยันการขึ้นและลงของราคาหุ้น แต่ถ้าราคามีแนวโน้มลดลงในขณะที่แนวโน้มของเส้น OBV ยังสามารถขยับสูงขึ้นเป็นค่าสูงสุดครั้งใหม่ จะเป็นการยืนยันว่าราคาจะต้องขยับสูงขึ้นอีกครั้ง

2. โดยการใช้เส้นแนวโน้ม (TRENDLINES) เป็นเส้นแนวต้าน หรือเส้นสนับสนุน เมื่อเส้น OBV ตัดผ่านเส้นแนวต้าน เป็นสัญญาณว่าแนวโน้มของราคาจะขึ้น

3. โดยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) สัญญาณซื้อเกิดขึ้นเมื่อเส้น OBV มีลักษณะอยู่ในแนวโน้มขึ้นและตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้น และสัญญาณขายเกิดขึ้นเมื่อเส้น OBV กำลังลดลงและตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลง


Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีแสดงความสมดุลของปริมาณการซื้อขายโดยเฉลี่ย AVERAGE BALANCE VOLUME (ABV)



ดัชนีแสดงความสมดุลของปริมาณการซื้อขายโดยเฉลี่ย (ABV) เป็น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของเส้นดัชนีปริมาณหุ้นสะสม และระยะเวลาที่นำมาหาเส้นค่าเฉลี่ยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เป็นผู้กำหนด 

แต่ที่นิยมคือ เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน, 25 วัน, 75 วัน และ 200 วัน ถ้าเส้น ABV หักหัวขึ้น แสดงว่า ราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะขึ้น ในทางกลับกันถ้าเส้น ABV หักหัวลง แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะลง


Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีแสดงปริมาณการซื้อขายสะสม CUMULATIVE VOLUME (CV)



เนื่องจากดัชนีปริมาณหุ้นสะสม (OBV) ไม่สามารถอธิบายแนวโน้มตลาดได้ละเอียดเพียงพอ และอาจจะไม่ตรงกับสภาพตลาดจริง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น CUMULATIVE VOLUME (CV) จึงถูกพัฒนาขึ้นมา โดยการให้น้ำหนัก (WEIGHT) ต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาจากวันก่อน และปริมาณซื้อขายในวันนั้น ๆ โดยให้ราคาปิดของวันนั้น เป็นเกณฑ์วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา

 ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาปิดวันก่อน ค่า CV ก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นมากน้อยตามการเปลี่ยนแปลงของราคา คูณด้วย VOLUME ถ้าราคาปิดต่ำกว่าราคาปิดวันก่อน ค่า CV ก็จะมีค่าลดลงมากน้อยตามการเปลี่ยนแปลงของราคาคูณด้วย VOLUME

CV = ((Closet - Closet-1) *Volumet) + CVt-1

ถ้าค่า CV มีค่าเพิ่มขึ้น แสดงว่า มีผู้ซื้อเก็บมากกว่าที่จะขายออก เมื่อมีแรงซื้อสะสมหุ้นมากขึ้น ราคาจะมีแนวโน้มเป็นบวก แต่ถ้าค่า CV มีค่าลดลง แสดงว่ามีการกระจายหุ้นออกไป หรือมีแรงขายมากนั่นเอง เมื่อนำค่า CV ที่ได้ในแต่ละวันมาแสดงเป็นกราฟเส้นในแผนภูมิ จะได้เส้นแนวโน้มหรือทิศทางของราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์โดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ OBV


Indicators ที่ได้รับความนิยม

เครื่องมือแสดงการเหวี่ยงตัวของการสะสมและการระบายหุ้น VARIABLE ACCUMULATION/DISTRIBUTION (VAD)



VAD คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ของ OSCILLATOR ซึ่งแสดงถึง การสะสมของปริมาณการซื้อขายหุ้น โดยเป็นการเปรียบเทียบราคาปิด กับราคาเปิดของช่วงนั้น ๆ เพื่อที่จะดูแนวโน้มของตลาดในช่วงนั้นว่า เป็นระยะสะสม (ACCUMULATION) ซึ่งค่า VAD จะอยู่เหนือระดับเส้น 0 

เนื่องจากราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด และมีปริมาณการซื้อขายสนับสนุนเพียงพอ หรือว่าเป็นระยะจำหน่ายจ่ายแจก (DISTRIBUTION) ซึ่งค่า VAD จะอยู่ต่ำกว่าระดับเส้น 0 เนื่องจากราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด โดยมีปริมาณการซื้อขายสนับสนุน
โดย OSCILLATOR และ VAD มีสูตรการคำนวณ ดังนี้

Oscillator = CLOSE - OPEN *VOLUME
HIGH - LOW

VADn = (OSCt + OSCt-1 + … + OSCt - n+1)/ln

หมายเหตุ

ACCUMULATION (ระยะสะสม) เป็นการคาดการณ์ว่าแนวโน้มของราคาหุ้นหรือตลาดจะขึ้น (BULL MARKET)

DISTRIBUTION (ระยะจำหน่ายจ่ายแจก) เป็นการคาดการณ์ว่าแนวโน้มของราคาหุ้นหรือตลาดจะลง (BEAR MARKET)


หลักการวิเคราะห์

ถ้าเส้น VAD ตัดเส้น O ขึ้น เป็นสัญญาณให้ซื้อ
ถ้าเส้น VAD ตัดเส้น O ลง เป็นสัญญาณให้ขาย
สัญญาณซื้อขายที่เกิดจาก VAD นี้ควรจะสอดคล้องกับแนวโน้มของราคาด้วย


Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีการแกว่งตัว OSCILLATOR



ปกติในภาวะที่ตลาดอยู่ในแนวโน้มขึ้นหรือลงอย่างชัดเจนนั้น เครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคต่าง ๆ เช่น เส้นแนวโน้ม (TREND LINE), เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ก็พอจะช่วยให้เราวิเคราะห์แนวโน้ม หรือทิศทางของตลาด หรือราคาของหลักทรัพย์แต่ละตัวได้เป็นอย่างดี

แต่ในขณะที่ตลาดหรือราคาของหลักทรัพย์เป็นไปแบบเรียบ ๆ หรือเหวี่ยงตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ เครื่องมือทางเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะชี้ทิศทางได้ไม่แน่นอนนัก จึงมีเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ได้ดีขณะตลาดหรือหุ้นเหวี่ยงตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ (SIDEWAYS) เพราะสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างค่อนข้างใกล้ชิด และมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากขึ้นกว่าเดิม เรียกว่า OSCILLATOR (อ็อดซิเลเตอร์)

OSCILLATOR นั้น ยังแบ่งแยกออกเป็นอีกหลาย ๆ แบบ ตามความเหมาะสมว่าแต่ละรูปแบบนั้นเหมาะสม หรือสมควรจะใช้ในลักษณะใด แต่รูปแบบที่นำเสนอในที่นี้เป็นเพียงบางรูปแบบของ OSCILLATOR ที่คิดว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้นไทยได้ดีพอสมควร


Indicators ที่ได้รับความนิยม

COMMODITY CHANNEL INDEX (CCI)



CCI นั้นใช้ในการพิจารณาหาความแตกต่างของราคาหุ้นจากราคาเฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนดขึ้น ว่ามีมากหรือน้อยเพียงไร ทั้งในขณะราคาเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลง ช่วงเวลาที่กำหนดขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะนิยมใช้คือ 10 วัน และ 14 วัน ดังนั้นเครื่องมือตัวนี้จึงเหมาะสมกับการวิเคราะห์ระยะกลางขึ้นไป แต่เทคนิคนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการวิเคราะห์ในระยะสั้น เช่น 5 วัน ได้เช่นกัน

หลักในการคำนวณ

การคำนวณหาค่า CCI จะใช้สูตรดังต่อไปนี้

CCIt = (TPt - MAt) / (.015 *MD)

MD = Mean Deviation คือ (MAt - P1) + (MAt - P2) + … (MAt - Pn) / n
n = ช่วงเวลา
TPt = (ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด + ราคาปิด ณ วันปัจจุบัน) / 3
MAt = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตามเวลาที่กำหนด เช่น 10 วัน ฯ
Pi = ราคาปิดในวันย้อนหลัง i วัน

หลักการวิเคราะห์

CCI เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งของราคา โดยรูปแบบที่ออกมาจะเป็นกราฟที่ส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง -100 ถึง +100 (อาจปรับได้ตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น BISNEWS จะมีช่วงอยู่ระหว่าง -200 ถึง +200) โดยมีค่า 0 เป็นแกนกลาง หรือค่ากลางซึ่งสามารถอภิปรายได้ว่า ณ ระดับราคา 0 แสดงว่า ราคาปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลงจากราคาในช่วงเวลาที่กำหนดในอดีต 

แต่ ณ ระดับที่มีค่าเป็นบวกหรือลบ แสดงถึงราคาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น หรือลดลง จากราคาในอดีตโดยเฉลี่ย โดยเฉพาะถ้าการเปลี่ยนแปลงมีค่าเป็นบวก หรือลบมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเป็นเครื่องชี้ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า หรือน้อยกว่าในอดีตโดยเฉลี่ยมากขึ้นเท่านั้น

การวิเคราะห์ในระยะสั้น

หากเส้นกราฟอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า +100 (+200) แสดงว่าระดับราคาได้เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นมามากแล้วราคาจึงอาจจะมีการทรงตัว หรือระดับอาจจะลดลงได้ในช่วงต่อไป จึงเป็นสัญญาณให้ขาย
หากเส้นกราฟอยู่ในระดับที่ต่ำเกินกว่า -100 (-200) แสดงว่าระดับราคาได้เปลี่ยนแปลงลดลงมามากแล้ว ราคาจึงอาจจะมีการทรงตัว 

หรือระดับราคาอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วงต่อไปจึงเป็นสัญญาให้ซื้อ
หากเส้นกราฟตัดเส้นแกนกลางหรือค่ากลางที่เป็น 0 ขึ้นหรือลง อาจจะเป็นสัญญาณของราคาได้อีกด้วย โดยหากเส้นกราฟตัดเส้น 0 ขึ้นไป จะเป็นสัญญาณให้ซื้อ และหากเส้นกราฟตัดเส้น 0 ลงไป จะเป็นสัญญาให้ขาย

การวิเคราะห์ในระยะปานกลาง

หากเส้นกราฟอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า +100 แสดงว่าระดับราคาได้เริ่มสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่ราคาจะสูงขึ้นต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่งจึงเป็นสัญญาณให้ซื้อ

หากเส้นกราฟอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า -100 แสดงว่าระดับราคาได้เริ่มต่ำลง และมีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง จึงเป็นสัญญาณให้ขาย


Indicators ที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

ดัชนีการแกว่งของปริมาณการซื้อขายสะสม VOLUME ACCUMULATION OSCILLATOR (VAO)



เส้น VAO เกิดจากการนำค่า VOLUME ACCUMULATION (VA) มาสร้างเป็น OSCILLATOR (ดัชนีการแกว่งตัว) โดยค่า VA เป็นการให้น้ำหนัก (WEIGHT) ต่อราคาและปริมาณซื้อขายในช่วงวันนั้น ๆ ว่ามีน้ำหนักค่อนไปในทางใด โดยให้ราคาเฉลี่ย (ราคากลาง) ของวันนั้น เป็นเกณฑ์วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา

 ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาเฉลี่ย ค่า VA จะมีค่าเป็นบวกตามอัตราส่วนของราคาปิดต่อราคาเฉลี่ย ถ้าราคาปิดต่ำกว่าราคาเฉลี่ย ค่า VA จะมีค่าเป็นลบตามอัตราส่วนของราคาปิดต่อราคาเฉลี่ย และถ้าหากราคาปิดเท่ากับราคาสูงสุด ปริมาณการซื้อขายของวันนั้นจะมีค่าเป็นบวกทั้งหมด แต่ถ้าราคาปิดเท่ากับราคาต่ำสุดปริมาณการซื้อขายของวันนั้นจะมีค่าเป็นลบทั้งหมด

วิธีการสร้างเส้น VAO เกิดจากการสร้างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 วัน และ 10 วันจากค่า VA จากนั้นก็นำส่วนต่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 วัน และ 10 วัน มาสร้างเป็นเส้น (LINE) หรือแท่ง (HISTOGRAM) โดยมีเส้น 0 เป็นแกนกลาง

โดย VA และ VAO มีสูตรการคำนวณ ดังนี้


VA = (CLOSE-LOW)-(HIGH-CLOSE) *VOLUME
HIGH-LOW

VAOn = MA3 (VA)-MA10 (VA)


หลักการวิเคราะห์

ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 วัน ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันขึ้นส่วนต่างนั้นจะเปลี่ยนจากค่าลบเป็นค่าบวก และเส้น VAO จะตัดเส้น 0 ขึ้น ซึ่งหมายถึงสัญญาณให้ซื้อ แต่ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยที่ 3 วัน ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันลง ส่วนต่างนั้นจะเปลี่ยนจากค่าบวกเป็นค่าลบ และเส้น VAO จะตัดเส้น 0 ลง ซึ่งหมายถึงสัญญาณให้ขาย



Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีการแกว่งตัวของการสะสม และการระบายหุ้น ACCUMMULATION/DISTRIBUTION OSCILLATOR (ADO)



ADO เป็นเครื่องมือวัดความแกว่งของราคาหลักทรัพย์ เพื่อเป็นการวัดว่าในขณะใดขณะหนึ่งมีการสะสม หรือกระจายหลักทรัพย์ออกมามากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่นในการตัดสินใจซื้อหรือขายได้อย่างทันท่วงที

หลักในการคำนวณ

A/D OSCILLATOR มีสูตรที่ใช้ในการคำนวณดังนี้

ADO = (BP - SP) / (2* (HIGH-LOW)) *100

ADO = Accumulation / Distribution Oscillator

Bp = แรงซื้อ = ราคาสูงสุด - ราคาเปิด ณ วันปัจจุบัน
P = แรงขาย = ราคาปิด - ราคาต่ำสุด ณ วันปัจจุบัน
HIGH = ราคาสูงสุด
LOW = ราคาต่ำสุด

หลักการวิเคราะห์  กรณีที่ใช้ดูประกอบกับดัชนีฯ หรือราคาหลักทรัพย์

กล่าวคือ การเคลื่อนที่ของเส้น ADO สามารถเตือนได้ว่า ดัชนีฯ หรือราคาหลักทรัพย์กำลังจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม เช่น เมื่อเส้นดัชนีฯ หรือราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ แต่เส้น ADO กลับไม่สามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ต่ำตามซึ่งลักษณะเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม (DIVERGENCE)


กรณีใช้ดูทิศทางจากตัวของ ADO เองจะแบ่งได้ดังนี้

ถ้า ADO มีค่าสูงขึ้น แสดงว่ามีการสะสมหุ้นเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ราคาสูงขึ้นไปได้ และสามารถเป็นสัญญาณบอกให้ซื้อได้อีกด้วย ในกรณีทำยอดสูงใหม่สูงกว่า หรือใกล้เคียงยอดเดิม หรือในกรณีที่ตัดเส้นแกนกลาง (50) ขึ้นไป และหากเส้น ADO มีค่าถึงระดับ 100 แล้ว ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้จึงควรขายไปก่อน เพราะถือว่าได้มีการสะสมหุ้นมามากพอสมควรแล้ว

ถ้า ADO มีค่าลดลง แสดงว่ามีการกระจายหุ้น หรือแจกจ่ายหุ้นเกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือมีการขายหุ้นออกมานั้นเอง ดังนั้นจึงเป็นสัญญาณบอกให้ขายได้ รวมถึงเส้น ADO ตัดเส้นแกนกลาง (50) ลงมา หรือทำฐานต่ำใหม่ต่ำกว่าฐานเดิม ก็เป็นสัญญาณบอกให้ขายได้ และหากเส้น ADO ลงมาถึงระดับ 0 ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะได้มีการกระจายหุ้นกันออกมา จนระดับราคาลดต่ำลง จึงน่าเข้าไปซื้อขณะที่เส้น ADO อยู่ที่ระดับ 0 นี้

Indicators ที่ได้รับความนิยม

สโตแคสติกส์แบบเร็ว FAST STOCHASTIC



STOCHASTIC แบบเร็วนี้ เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของระดับราคาในปัจจุบัน ภายในช่วงกว้างของระดับราคา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งมีการแกว่งตัวที่รวดเร็วมาก จึงทำให้หลายฝ่ายไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีการแกว่งตัวที่ผันผวนและไม่แน่นอน 

ดังนั้น SLOW STOCHASTIC จึงเป็นที่นิยมใช้มากกว่า STOCHASTIC นี้ประกอบด้วยค่าดัชนีสองค่าคือ %K และ %D โดยจะบอกถึงภาวะซื้อมากไป (OVERBOUGHT) เมื่อ STOCHASTIC ตัดเส้น 80% ขึ้นไป คืออยู่ในช่วงระหว่างเส้น 80% ถึง 100 % และจะบอกภาวะขายมากไป (OVERSOLD)

 เมื่อ STOCHASTIC เตือนชี้จะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น 20% ลงมา และสัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %Kตัดเส้น %D ขึ้นไป สำหรับสัญญาณเตือนขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น 80% ขึ้นไป และสัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %K ตัดเส้น %D ลงมา

FORMULA

FAST %k = CURRENT CLOSE – LOWEST LOWn
HIGHEST HIGHn – LOWEST LOWn

%D = 3 PERIOD MODIFIED MOVING AVERAGE OF FAST %k

n = NUMBER OF PERIODS


Indicators ที่ได้รับความนิยม

สโตแคสติกส์แบบช้า SLOW STOCHASTIC



SLOW STOCHASTIC เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของราคา ที่ถูกทำให้ราบเรียบขึ้นจาก FAST STOCHASTIC ซึ่ง SLOW STOCHASTIC ใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE ในการหาค่า SLOW %K เท่ากับ 3 PERIOD แต่ใน FAST STOCHASTIC ค่าของ FAST %Kจะใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE เท่ากับ 1 PERIOD หรือไม่มีการเฉลี่ยนั่นเอง

FORMULA

SLOW %K = 3 Period Modified Moving Average of FAST %K

%D = 3 Period Modified Moving Average of SLOW %K



Indicators ที่ได้รับความนิยม

HIGH/LOW OSCILLATOR (HLO)



HLO เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูถึงความสัมพันธ์ของราคาสูงสุด ณ วันปัจจุบันกับราคาปิดในอดีต โดยนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนตามผลรวมของช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อใช้ดูความเปลี่ยนแปลงของราคาในปัจจุบัน

หลักในการคำนวณ

HLO มีสูตรในการคำนวณดังนี้

HLO = HIGH - CLOSE t-1 *100
MAX (A, B, C)

MAX (A,B,C) = ราคาที่มีค่ามากที่สุดเพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น
A = ราคาสูงสุดวันปัจจุบัน - ราคาปิดในอดีตย้อนหลัง 1 วัน
B = ราคาสูงสุด - ราคาต่ำสุด ณ วันปัจจุบัน
C = ราคาปิดในอดีตย้อนหลัง 1 วัน - ราคาต่ำสุด ณ วันปัจจุบัน

หลักการวิเคราะห์

รูปแบบของกราฟจะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง -100 ถึง +100 โดยจะมีค่า 0 เป็นค่ากลาง เพื่อใช้วัดความแตกต่างของราคาสูงสุด ณ วันปัจจุบันกับราคาปิดในอดีตย้อนหลัง 1 วันว่ามีความแตกต่างเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร (ค่าที่อกมาจะคิดความเปลี่ยนแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์) โดยมี
หลักการวิเคราะห์ดังนี้

1. ถ้าเส้นกราฟราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเส้นกราฟในอดีตแสดงให้เห็นว่าราคาได้มีการเลปี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในทางบวก ยิ่งเพิ่มสูงมากเท่าใดยิ่งชี้ให้เห็นว่าราคามีแนวโน้มที่ดี แต่ถ้ากราฟขึ้นมาอยู่ในระดับ +100 แสดงว่าราคาได้เปลี่ยนแปลงขึ้นมามากแล้ว อาจจะมีการปรับตัวลดลงได้ในช่วงต่อ จึงเป็นสัญญาณให้ขาย

2. ถ้าเส้นกราฟราคาลดลงต่ำกว่าเส้นกราฟราคาในอดีต แสดงให้เห็นว่าราคาได้มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ยิ่งลดลงมากเท่าใดยิ่งชี้ให้เห็นว่าราคาเริ่มมีแนวโน้มที่ไม่ดี ควรขายออกไปก่อน และถ้ากราฟตกมาจนถึงระดับ -100 แสดงว่าราคาได้เปลี่ยนแปลงลดลงมามากแล้ว อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วงต่อไปจึงเป็นสัญญาณให้ซื้อได้

3. ถ้าเส้นกราฟราคาตัดเส้นแกน 0 ขึ้นหรือลงก็อาจบอกได้ว่าเป็นสัญญาณให้ซื้อหรือขาย กล่าวคือ ถ้ากราฟตัดเส้น 0 ขึ้นก็เป็นสัญญาณให้ซื้อ และถ้ากราฟตัดเส้น 0 ลงมาก็เป็นสัญญาณให้ขาย

เครื่องมือ OSCILLATOR ดังกล่าวข้างต้น ล้วนอาจก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษพอ ๆ กัน ดังนั้น วิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและโทษน้อยที่สุดคือ จงมองเครื่องมือเหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ไม่โน้มเอียง เข้าข้างตัวเอง 

ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียหายได้ และการใช้เครื่องมือมากตัวเข้ามาประกอบกัน ยิ่งมากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นผลดีในการกลั่น กรอง เช่น การนำเครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้มต่าง ๆ อันได้แก่ MOVING AVERAGE, TREND LINE เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องมากที่สุดต่อตัวนักลงทุนเอง


Indicators ที่ได้รับความนิยม

สโตแคสติกส์แบบปรับปรุง MODIFIED STOCHASTIC



MODIFIED STOCHASTIC เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องวัดการแกว่งตัวของราคา ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยสามารถทำให้ราบเรียบขึ้นจาก FAST STOCHASTIC หรือทำให้แกว่งตัวมากกว่า SLOW STOCHASTIC

แต่เดิม FAST STOCHASTIC ใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE ที่กำหนดช่วงเวลาในการหาค่า %D เท่ากับ 3 และ SLOW STOCHASTIC ใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE ที่กำหนดช่วงเวลาการหาค่า %Kและ %D เท่ากับ 3 แต่ใน MODIFIE STOCHASTIC 

ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าของ MOVING AVERAGE เท่ากับช่วงเวลาใดๆก็ได้ และสามารถกำหนดรูปแบบของ MOVING AVERAGE ได้ตามต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาค่า %K
และ %D

หลักการวิเคราะห์ของ MODIFIED STOCHASTIC ใช้หลักเดียวกันกับ FAST และ SLOW STOCHASTIC


Indicators ที่ได้รับความนิยม

วิลเลี่ยมเปอร์เซ็นต์อาร์ WILLIAM %R



%R เป็นเครื่องมือแสดงภาวะซื้อมากไป หรือภาวะขายมากไป ซึ่งพิจารณาจากราคาปัจจุบันว่าอยู่ ณ ระดับราคาใดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่กำหนด %Rของช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ถูกคำนวณได้ โดยหักลบราคาปัจจุบันจากราคาสูงสุดของช่วงเวลานั้น แล้วหารผลที่ได้นี้ด้วยช่วงกว้างของระดับราคาของช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้

%R = HIGHn – CURRENT LAST
LOWn – HIGHn

เมื่อ n = จำนวนเวลา
HIGHn = ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
LOWn = ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด

%R จะแตกต่างจากเครื่องมือตัวอื่น ๆ ในด้านมาตรวัด ซึ่งใช้วัดระดับ

ภาวะซื้อมากไปหรือขายมากไปโดยมีระดับอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง –100 กล่าวคือระดับ 0 จะอยู่ข้างบน ส่วน – 100 จะอยู่ด้านล่าง เหตุที่วาง SCALE ในลักษณะนี้เพื่อเหตุผลในการคำนวณ ดังนั้นจึงไม่ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องหมายลบ

หลักการวิเคราะห์ของ WILLIAMS

สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อ %R ได้ตัดเส้นระดับ -90% ขึ้นไป
สัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %R ตัดเส้นระดับ –10%
ระดับภาวะซื้อมากไป (OVERBOUGHT ) อยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง – 10
ระดับภาวะขายมากไป (OVERSOLD) อยู่ในช่วงระดับ –90 ถึง – 100



Indicators ที่ได้รับความนิยม

โมเมนตัม MOMEMTUM



โมเมนตัมเป็นเครื่องมือ OSCILLATOR ที่นิยมใช้ในระยะสั้นอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถใช้วัดการแกว่งตัวของราคา และเนื่องจากเป็นเครื่องมือระยะสั้น จึงเป็นเครื่องมือที่มักจะสวนทางกับแนวโน้มของราคา (COUNTER TREND) โดยจะนำมาใช้ดูสภาพในช่วงสั้น ของตลาดว่าขณะนั้นอยู่ในภาวะ”ซื้อมากจนเกินไป” (OVERBOUGHT) หรือ “ขายมากจนเกินไป” (OVERSOLD)

สูตรของโมเมนตัม

MOMENTUM = P – Pn

P = ราคาปิดปัจจุบัน
Pn = ราคาปิดเมื่อ n วันที่ผ่านมา

หลังจากที่ได้ค่าความแตกต่างของราคา ที่กำหนดช่วงต่างของเวลาไว้แน่นอนแล้ว นำค่าที่ได้มาทำเป็นเส้นกราฟ จะได้เส้นกราฟที่มีเส้นกึ่งกลาง (เส้นศูนย์) และจะมีส่วนที่เป็นค่าบวกและค่าลบ รูปแบบเครื่องมือโมเมนตัมจะมีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหว ขึ้นลงอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดยช่วงบนจะเป็นการบอกภาวะ”ซื้อมากจนเกินไป” และช่วงล่างจะเป็นการบอกภาวะ “ขายมากจนเกินไป”

ปกติถ้าใช้ช่วงเลาสั้น ๆ เส้นโมเมนตัมจะปรับตัวขึ้นลงเร็วขึ้น แต่ถ้าใช้ช่วงเวลาที่ยาวขึ้น เส้นโมเมนตัมจะปรับตัวขึ้นลงช้ากว้า ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมีข้อสังเกตว่า

เนื่องจากหุ้นบางประเภทมีการซื้อขายสม่ำเสมอ และระดับราคามีการเหวี่ยงตัวไม่มากนัก เช่นหุ้นที่มีทุนจดทะเบียนสูง หรือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้ภาพชัดเจน และสามารถอ่านทิศทางได้ง่าย หุ้นประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โมเมนตัม แต่สำหรับหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยในตลาดหลักทรัพย์ไทยหุ้นประเภทนี้ มักจะเป็นหุ้นที่มีราคาต่ำ จะเหมาะกับการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือโมเมนตั้ม เนื่องจากจะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนกว่า

ประโยชน์ของเครื่องมือโมเมนตั้ม

1. ใช้สำหรับการลงทุนในช่วงสั้น สามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณ เตือนว่า ในช่วงระยะเวลานั้น ราคาหุ้นได้ดีขึ้นมาจนถึงที่สุดแล้ว และน่าจะมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิค โดยหุ้นแต่ละตัวจะมีระดับสูงสุดของโมเมนตัมต่างกัน

2. สามารถนำมาใช้กับสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทาง (TRENDLESS) หรือในสภาพตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ที่เป็นไปใน ลักษณะแนวนอน (SIDEWAYS)

3. นำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของตลาดที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น “พละกำลัง” ใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยังโดยสัญญาณเตือน จะแสดงออกมาในรูปของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ของราคาหุ้นกับเส้นโมเมนตัม โดยเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกัน

การอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม

การอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม เป็นการดูอัตราเร่งของการเคลื่อนตัวสูงขึ้น หรือการลดต่ำลงของราคาหุ้น เนื่องจากเครื่องมือนี้ เป็นเครื่องมือที่วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น โดยมีเส้นกึ่งกลาง (CENTER LINE) เป็น จุดบอก เส้นกึ่งกลางนี้จะเป็นเส้น ZERO LINE

ถ้าราคากำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่เส้นโมเมนตั้มก็อยู่เหนือเส้นกึ่งกลาง และกำลังมีทิศทางสูงขึ้นเช่นกัน จะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าราคากำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการชี้ว่าทิศทางราคาหุ้นจะพุ่งสูงขึ้นต่อไปได้

ถ้าเส้นโมเมนตั้มเคลื่อนที่ในแนวราบที่ระดับ 0 แสดงว่าราคาปิดล่าสุดไม่มีความแตกต่างจากราคาปิดเมื่อ n วันที่ผ่านมา และบอกถึงแนวโน้มราคาที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ (SIDEWAYS) และเมื่อเส้นโมเมนตั้มอ่อนตัวลง แม้ราคาจะมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม จะเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาที่สูงขึ้นนั้นกำลังจะหมดแรง

ถ้าเส้นโมเมนตั้มเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นกึ่งกลาง แสดงว่าราคากำลังตกลงเรื่อย ๆ โดยมีแนวโน้มลง (DOWNTREND)

ข้อสังเกตที่สำคัญมากสำหรับการวิเคราะห์โมเมนตั้ม คือ เครื่องมือนี้เป็นการวัดราคาที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่กำหนดให้ เช่น เส้นโมเมนตั้ม 10 วัน จะเป็นการดูราคาปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาใน 10 วันก่อน


Indicators ที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

MOVING AVERAGE MOMENTUM



MOVING AVERAGE MOMENTUM คล้ายกับเครื่องมือโมเมนตั้มธรรมดา แต่เรานำความแตกต่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มาทำกราฟแทนราคาปิด ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวมีความราบเรียบกว่า (SMOOTHED VERSION)

สูตร MOVING AVERAGE MOMENTUM

MOVING AVERAGE MOMENTUM = MA - MAn

MA = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนปัจจุบัน
MAn = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เมื่อ n วันที่ผ่านมา

การอ่านเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM

การอ่านเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM มีลักษณะคล้ายกับการอ่านความหมายจากเครื่องมือโมเมนตั้ม โดยถ้าเส้น MOVING AVERAGE MOMENTUM ทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นไปเป็นการแสดงสัญญาณซื้อ และถ้าเส้น MOVING AVERAGE MOMENTUM ทะลุผ่านเส้นนึ่งกลางลงมา ก็เป็นการแสดงสัญญาณขาย โดยเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM จะให้สัญญาณที่ช้ากว่าเครื่องมือโมเมนตั้ม แต่สัญญาณหลอกจะเกิดขึ้นน้อยกว่า เนื่องจากเส้นมีความราบเรียบขึ้น


Indicators ที่ได้รับความนิยม

เครื่องมือแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคา DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX



เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้าย OSCILLATOR ซึ่งใช้ประกอบ หรือยืนยันกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะกับการหาแนวโน้มของการเคลื่อนไหวของระดับราคา โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX หากค่าที่หาออกมาได้มีค่ามาก แสดงว่ามีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยค่าที่คำนวณออกมานี้จะอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 เท่านั้น

การคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX มีสูตรดังต่อไปนี้

+DI = +DMN
TRN
หรือ
-DI = -DMN
TNN

+DMN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ +DM ณ เวลาปัจจุบัน
+DM ราคาสูงสุดในปัจจุบัน - ราคาสูงสุดของวันก่อน
-DMN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ -DM ณ เวลาปัจจุบัน
-DM ราคาต่ำสุดในปัจจุบัน - ราคาต่ำสุดของวันก่อน
TRN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ช่วงที่เป็นจริงที่มีค่ามากที่สุดจาก

ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับต่ำสุดวันนี้
(Hightoday - Lowtoday)

ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับราคาปิดเมื่อวันนี้
(Hightoday - Closeyesterday)

ผลต่างระหว่างราคาปิดเมื่อวานนี้ กับราคาต่ำสุดของวันนี้
(Closeyesterday - Lowtoday)

การคำนวณหา DM

ค่า DM จะเป็นค่า + หรือ - เท่านั้น โดยการหาค่า +DM หรือ -DM จะเกิดขึ้นจาก 3 กรณี ดังนี้

1. ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) สูงกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า C+A จะเป็นค่า +DM

2. ราคาสูงสุดขงวันปัจจุบัน (C) ต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า D-8 จะเป็นค่า -DM

3. ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี

ถ้าผลต่างของราคาสูงสุดมากกว่าผลต่างของราคาต่ำสุด ค่า C-A จะเป็น +DM
ถ้าผลต่างของราคาต่ำสุด มากกว่าผลต่างของราคาสูง ค่า D-B จะเป็น -DM

หมายเหตุ : ในกรณีที่ระดับราคาสูงสุดของวันปัจจุบันเท่ากับ หรือต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน เท่ากับหรือสูงกว่า ราคาต่ำสุดของวันก่อน จะไม่มีค่า DM หรือเรียกว่า ZERO DM

การหาค่า DI

เมื่อได้ค่า DM มาแล้วก็จะสามารถคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ของ DIRECTIONAL MOVEMENT โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL INDICATIOR (DI) จากสูตรข้างต้น

ขั้นต่อไปเพื่อให้ค่า DIRECTIONAL INDICATOR เป็นเครื่องมือที่มีความหมายน่าเชื่อถือมากขึ้น เราก็จะคำนวณหาค่า DI 14 วัน หรือ DI 14 เหตุที่ใช้ค่า 14 วัน เพราะว่านาย J. Wells Wilder ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ได้ทดลองค่าจากเวลาที่ต่างกัน จนกระทั่งเขาพบว่าการใช้ระยะเวลาเท่ากับ 14 วันนั้นจะให้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องมากที่สุด จากนั้นเราจะได้ค่า +DI14 และ -DI14

หลักการวิเคราะห์

จากการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX (DI)

เมื่อนำค่า DI มาวาดกราฟ หากเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ขึ้นไป (การเคลื่อนที่ในทางบวกมากกว่าทางลบ) ถือเป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มขึ้น

ในทางตรงกันข้ามถ้าเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ลงมา (การเคลื่อนที่ในทางลบมากกว่าทางบวก) ถือเป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มลง


Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีการแกว่งตัวของทิศทางการเคลื่อนที่ของราคา DIRECTIONAL OSCILLATOR



เป็นการดัดแปลงจากเส้น +DI และ -DI ให้เหลือเพียงเส้นดัชนีเพียงเส้นเดียว (DO) โดยการแกว่งตัวของเส้นดัชนีนี้จะแกว่งตัวอยู่ในแนวระดับเส้นศูนย์ เส้นดัชนีนี้เกิดจากการที่เรานำค่า -DI หักออกจากค่า +DI โดยที่

ถ้า +DI มีค่ามากกว่า -DI เส้นดัชนีนี้จะแก่วงตัวอยู่เหนือระดับเส้นศูนย์
ถ้า -DI มีค่าน้อยกว่า -DI เส้นดัชนีนี้จะแกว่งตัวอยู่ใต้ระดับเส้นศูนย์

DIRECTIONAL OSCILLATOR (DO) จะให้สัญญาณซื้อขายเหมือนกับ DI ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะเลือกใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งที่เราถนัดตามต้องการ

หลักการวิเคราะห์

สัญญาณซื้อ เกิดเมื่อ เส้นดัชนีตัดแกนศูนย์ขึ้นไปเป็นค่าบวก
สัญญาณขาย เกิดเมื่อ เส้นดัชนีตัดแกนศูนย์ลงไปเป็นค่าลบ


Indicators ที่ได้รับความนิยม

ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาโดยเฉลี่ย AVERAGE DIRECTIONAL INDEX



หลังจากที่ นาย J.WEELS WILDER คิดค้นทฤษฎี DIRECTIONAL INDICATOR (DI) ขึ้นมาแล้วนั้น เขาสังเกตเห็นว่าน่าจะมีเครื่องมือตัวอื่นที่จะมาช่วยสนับสนุนสัญญาณต่าง ๆ จากค่า DI 

ดังนั้น นาย J.WELLS WILDER จึงได้คิดทฤษฎีขึ้นมาใหม่อีกแบบหนึ่ง คือ AVERAGE DIRECTIONAL INDEX (ADX) ซึ่งค่าของ ADX นี้เราสามารถที่จะปรับระยะของเวลาได้ โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่โดยปกติเราจะใช้ 14 วัน เนื่องจากได้มีการทดลองแล้วว่า การใช้ระยะเวลา 14 วันนั้นจะมีนัยสำคัญที่สุด

ค่า ADX จะหาได้จากสูตร

ADX = DXt+DXt-1+DXt-2+…+DXt-n+1
n

DX = (+DI) - (-DI)
(+DI) + (-DI)

โดยที่ ADX คือ ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาโดยเฉลี่ย
DXt คือ ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ ณ วันปัจจุบัน
n คือ จำนวนวัน

ค่า ADX นี้จะวิ่งขึ้นลงอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 โดยค่า ADX ควรที่จะมีค่ามากกว่า 20-25 ขึ้นไป จึงจะบอกถึงทิศทางของการเคลื่อนที่ หรือสัญญาณซื้อขายจากเส้น DI ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่หากมีสัญญาณซื้อใน DI แล้ว (+DI มากกว่า -DI) แต่ค่า ADX มีค่าน้อยกว่า 20-25 ลงมา สัญญาณซื้อจาก DI อาจจะไม่ถูกต้องเท่าใดนัก

Indicators ที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

สโตแคสติกส์ STOCHASTICS



STOCHASTICS คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน

ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ขึ้น” เป็น “ลง” เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ลง” เป็น “ขึ้น” ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง

ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสูงสุด-ต่ำสุดกับราคาปิด ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสูตรสมการในการดูแนวโน้มขึ้น หรือลงของราคาหุ้นในช่วงสั้น ๆ โดยนำมาใช้ดูว่า ราคาปิดอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่ซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

หลักการเบื้องต้นในการคำนวณ STOCHASTICS

เครื่องมือ STOCHASTICS ประกอบด้วย

เส้น %K เป็นเส้น STOCHASTICS
เส้น %D เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น %K

%K = ราคาปิด (วันนี้) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง n วัน)
ราคาสูงสุด (ในช่วง n วัน) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง n วัน)
%D = ค่าเฉลี่ย (n วัน) ของค่า %K

หลักการอ่าน STOCHASTICS

สัญญาณเตือน “ซื้อ” เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERSOLD ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ “ซื้อ” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น

สัญญาณเตือน “ขาย” เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERBOUGHT ที่บริเวณระดับสูงกว่า 80% และควรขายเมื่อเกิดสัญญาณ “ขาย” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ลง

รูปแบบของการตัดขึ้นตัดลง

สัญญาณซื้อหรือขายจากการตัดขึ้นหรือลงในทางปฏิบัติ มักจะมีบางกรณีเกิดเป็นสัญญาณหลอกขึ้นซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย จึงมีกฎเกณฑ์เพิ่มเติมในการอ่านรูปแบบของการตัดขึ้นหรือลง โดยจะดูว่ารูปแบบในลักษณะใดที่จะผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว

การตัดค่อนไปทางขวามือ (RIGHT-HAND CROSS-OVER)

เนื่องจากเส้น %K เปลี่ยนทิศทางเร็วกว่าเส้น %D โดยจะวิ่งขึ้นหรือลงก่อน และอาจทำให้เกิดสัญญาณหลอก ดังนั้นสัญญาณที่ดีกว่าคือ การให้ทั้ง 2 เส้นเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้ รูปแบบจะออกมาในลักษณะที่เส้น %K ตัดเส้น %D ค่อนไปทางขวามือ (RIGHT-HAND CROSS-OVER) ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนกว่า

รปแบบ HINGE

เป็นรูปแบบการชะลอการขึ้นหรือลงในลักษณะอ่อนตัวลง เป็นเครื่องชี้ว่าราคาหุ้นอาจจะมีการเปลี่ยนทิศทางในเร็ว ๆ นี้

การแยกทางจากกันระหว่างแผนภูมิราคากับแผนภูมิ STOCHASTICS
(DIVERGENCE) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

BEARISH DIVERGENCE คือการที่ราคาหุ้นสามารถสร้างจุดสูงใหม่ แต่ STOCHASTICS ไม่สามารถสร้างจุดสูงใหม่เป็นสัญญาณขาย

BULLISH DIVERGENCE คือการที่ราคาหุ้นสร้างจุดต่ำใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำเก่า แต่ STOCHASTICS มีจุดต่ำใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำกว่า เป็นสัญญาณซื้อ

รูปแบบ SET-UP

จุดยอดใหม่ของ STOCHASTICS สูงกว่าจุดยอดเก่า ในขณะที่ราคาหุ้นไม่สามารถสร้างจุดสูงใหม่และกลับลดต่ำกว่าจุดสูงเก่าเป็นสัญญาณเตือนว่า การลดต่ำลงของราคาหุ้นไม่น่าจะรุนแรงมากกว่านี้เรียกว่า BULL SET-UP และมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดตัวกลับสูงขึ้น

BEAR SET-UP จุดต่ำใหม่ของ STOCHASTICS ต่ำกว่าจุดต่ำกว่าในขณะที่ราคาหุ้นมีจุดต่ำใหม่สูงกว่าจุดต่ำเก่า เป็นสัญญาณเตือนว่า การขึ้นของราคาหุ้นครั้งนี้จะเป็นการขึ้นก่อนที่ราคาจะต่ำลง

รูปแบบ FAILURE แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

รูปแบบ KNEE เส้น %K ตัดเส้น%D ขึ้นและถอยกลับแต่ไม่ทะลุผ่านเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาหุ้นยังสามารถที่จะเคลื่อนตัวสูงขึ้นต่อไปได้

รูปแบบ SHOULDER เส้น %K ตัดเส้น %D และดีดตัวสะท้อนกลับแต่ไม่สามารถตัดผ่านไปได้เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นใกล้จะอ่อนตัวลง

รูปแบบ GARBAGE แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

GARBAGE TOP เป็นรูปแบบทีเส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่บริเวณเขตภาวะซื้อมากไป รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นกับสภาพตลาดที่อยู่ในภาวะขาขึ้น ซึ่งจะใช้ระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีการปรับตัวลง ลักษณะการปรับตัวลงของ STOCHASTIC จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และจะสามารถดีดตัวกลับสูงข้นได้ทันที โดยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับตัว V จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SPIKE BOTTOM

GARBAGE BOTTOM เกิดขึ้นในสภาพตลาดขาลง และมีความหมายตรงกันข้ามกับ GARBAGE TOP โดยรูปแบบการปรับตัวสูงขึ้นของ STOCHASTIC จะเป็นไปในลักษณะ SPIKE TOP

ความหมายของระดับ 0% และ 100%

ระดับ 0% หมายถึงระดับที่บอกภาวะขายมากไป (OVERSOLD) ของหุ้นแต่ ณ ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะลดลงต่ำกว่านี้อีกไม่ได้ เพียงแต่แต่บอกว่า ณ ระดับนี้ราคาหุ้นอาจหยุดพักชั่วคราว หรืออาจดีดตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะของ TECHNICAL REBOUND ก่อนที่ราคาจะตกลงต่อระดับ 0% จึงอาจตีความได้ว่าราคาหุ้นได้ลดลงมาถึงระดับ “WEAK”

ระดับ 100 % หมายถึงระดับที่บอกภาวะซื้อมากไป (OVERBOUGHT) ของหุ้น แต่ ณ ระดับนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะไม่สามารถวิ่งขึ้นสูงต่อไปได้ แต่กลับชี้ให้เห็นว่าหุ้นมีความแข็งแรง (STRONG) จน สามารถผลักดันให้เส้น STOCHASTIC ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 100% ได้ อย่างไรก็ดี ณ ระดับราคานี้ STOCHASTIC อาจมีการปรับตัวลงมาบ้าง (TECHNICAL CORRECTION) แต่เป็นการปรับตัวเพื่อลดภาวะ OVERBOUGHT มากกว่า




Indicators ที่ได้รับความนิยม

พาราโบลิก PARABOLIC




ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS) ขาดความน่าเชื่อถือ คือ ความล่าช้าเนื่องจากเวลา (TIME LAG) เพราะการเคลื่อนที่ของเครื่องมือเทคนิคชนิดต่าง ๆ จะตามหลังราคาหรือดัชนีเสมอ

 ดังนั้นแนวโน้มที่ได้จึงไม่น่าเชื่อถือ เพราะเกิดจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งนาย J. WELLES WILDER ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครื่องมือเทคนิคตัวใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า พาราโบลิก (PARABOLIC) เพื่อลดความล้าหลังของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

โดยการเพิ่มความเร่งของสัญญาณของแนวโน้ม เมื่อราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ โดยพิจารณาให้ความสำคัญเรื่องราคาและเวลาเป็นหลัก และสัญญาณที่ได้เรียกว่า จุดเปลี่ยนแนวโน้ม หรือ STOP AND REVERSAL (SAR) และด้วยเหตุที่ SAR มีการเคลื่อนที่คล้ายรูปแบบ PARABOLIC CURVE เครื่องมือตัวนี้ จึงถูกตั้งชื่อว่า PARABOLIC

ณ จุดนี้เองที่บอกนักลงทุนว่าควรเปลี่ยนสถานภาพ กล่าวคือ ถ้านักลงทุนทำการซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) และเมื่อเกิด SAR ในวันรุ่งขึ้นอยู่เหนือราคาหุ้น ควรที่นักลงทุนจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป หรือในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผู้ขาย (SHORT POSITION) เมื่อเกิด SAR ในวันต่อไปอยู่ต่ำกว่าราคาหุ้นในวันนั้น นักลงทุนควรที่จะซื้อหุ้นนั้นคืนมา

สำหรับคุณสมบัติการเคลื่อนตัว ถ้าเป็นกรณีซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) SAR จะเคลื่อนที่สูงขึ้นทุก ๆ วัน ไม่ว่าราคาจะเคลื่อนไปทางใด ส่วนจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทิศทาง และความแรงของการเคลื่อนไหวของราคา (PRICE FUNCTION) ซึ่งโดยปกติถ้าราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทำยอดสูงใหม่ SAR จะเคลื่อนที่ตามราคาแต่ในอัตราที่เร็วกว่า จนกระทั่ง SAR เคลื่อนที่เข้าใกล้ราคาแล้วกระโดดขึ้นไปอยู่เหนือ ดังนั้นควรที่จะขายหุ้นในวันแรกที่ SAR อยู่เหนือราคาหุ้น

ในทางกลับกัน ถ้าเป็นกรณีขายหุ้น (SHORT POSITION) SAR จะเคลื่อนที่ต่ำลงเรื่อย ๆ แต่จะมีอัตราที่เร็วกว่าราคาหุ้นในกรณีที่ราคาทำยอดต่ำใหม่ จนกระทั่งเข้าใกล้ราคาและกระโดดลงไปอยู่ใต้ราคาในที่สุด ดังนั้นควรที่จะซื้อหุ้นในวันแรกที่ SAR อยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น สำหรับค่า SAR ที่คำนวณจากข้อมูลปัจจุบัน จะใช้เป็นค่าที่ชี้แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น เพื่อการตัดสินใจในวันรุ่งขึ้น

หลักการคำนวณ

SARt-1 = SARt + AF(EPt - SARt)

SARt-1 คือ ค่า SAR ในวันรุ่งขึ้น
SARt คือ ค่า SAR ในวันปัจจุบัน
EPt คือ ราคาต่ำสุดในวันนั้นกรณีขายหุ้น (SHORT)
และราคาสูงสุด ในวันนั้น กรณีซื้อหุ้น (LONG)
AF คือ ค่าความเร่ง โดยเริ่มต้นที่ 0.02 และเพิ่มขึ้น 0.02 ทุก ๆ ครั้งที่เกิดยอดสูงใหม่ในแนวโน้มขึ้น หรือต่ำใหม่ในแนวโน้มลง และจะสะสมไปได้มากที่สุดที่ 0.2 แต่ถ้าไม่เกิดยอดสูงหรือต่ำใหม่ จะใช้ค่าเดิม ไปจนกว่าจะเกิดยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่

สำหรับความถูกต้องของสัญญาณจากเครื่องมือ PARABOLIC จะขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น โดยถ้าหุ้นมีแนวโน้มที่ชัดเจนไม่ว่าขึ้นหรือลง (UPWARD OR DOWNWARD) ความน่าเชื่อถือของสัญญาณจะมีมาก แต่ถ้าการเคลื่อนที่ของหุ้นมีทิศทางไม่แน่นอนหรือขึ้นลงสลับกัน (SIDEWAYS) ความแม่นยำของสัญญาณก็จะลดลง

ดังนั้นนาย WILDER จึงได้สร้างเครื่องมืออีกตัวหนึ่งขึ้นมา เพื่อช่วยกลั่นกรองความถูกต้องของสัญญาณจาก PARABOLIC คือ AVERAGE DIRECTIONAL MOVEMENT (ADX) (รายละเอียดของการคำนวณ และการวิเคราะห์ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ DIRECTIONAL MOVEMENT) โดยตัว ADX นี้ถูกกำหนดการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 (ไม่เคลื่อนไหวจนถึงเคลื่อนไหวมาก)

โดยบอกถึงว่า ถ้าตัว ADX มีค่ามาก ๆ แล้ว ตลาดนั้นหรือหุ้นตัวนั้นมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้สัญญาณจาก PARABOLIC มีน้ำหนักในความน่าเชื่อถือมากตาม นอกจากนั้นนาย WILDER ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ค่าของ ADX ที่จะชี้ถึงความน่าเชื่อถือในสัญญาณของ PARABOLIC อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 20 และเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้ค่าของ ADX ในการกลั่นกรองสัญญาณของ PARABOLIC คือเมื่อ ADX ไต่ระดับสูงขึ้น







Indicators ที่ได้รับความนิยม

เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์ RSI : RELATIVE STRENGTH INDEX



RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD

และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ “แกว่ง” ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน “เวลา” ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI

สูตรการคำนวณ 14 RSI

RSI = 100 - 100
1+RS

RS = ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน
ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน

หรือใช้สูตร

RSI = 100 XU
U+D

U = AVERAGE OF 14 DAY’S UP CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน)
D = AVERAGE OF 14 DAY’S DOWN CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน)

ระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไป (OVERBOUGHT & OVERSOLD)

ระดับ “การซื้อมากเกินไป” ของ 14 RSI อยู่ที่บริเวณระดับสูงเกิน 70% ส่วนระดับที่มีการขายมากเกินไปอยู่ต่ำกว่าบริเวณ 30% และมีกฎว่าถ้าเส้น 14 RSI ลดต่ำลงมามากเท่าใดจะทำให้เกิดภาวะ OVERSOLD ซึ่งโอกาสที่ราคาหุ้นจะตีกลับขึ้นไปในลักษณะการ “ปรับตัวทางเทคนิค” มีอยู่สูง ในทางกลับกัน ถ้าเส้น 14 RSI วิ่งสูงขึ้นจนเข้าไปในเขต OVERBOUGHT แล้ว โอกาสที่ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงก็มีเช่นเดียวกัน

การใช้ 14 RSI ในการวิเคราะห์แผนภูมิราคามี 5 วิธี

1. ดูยอด (TOP) และฐาน (BOTTOM) มักจะเกิดยอดเหนือเส้น 70 และเกิดฐานใต้เส้น 30 โดยปรากฏยอดและฐานให้เห็นก่อนตลาด

2. ใช้ดูรูปแบบซึ่งจะใช้ดูเช่นเดียวกับรูปแบบที่เกิดในแผนภูมิราคา แต่จะให้ความสำคัญกับรูปแบบ HEAD & SHOULDERS ; DOUBLE TOPS & DOUBLE BOTTOMS ในลักษณะเป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นจะมีการเปลี่ยนทิศทาง โดยเฉพาะถ้ารูปแบบนั้นเกิดขึ้นในบริเวณเขต OVERBOUGHT หรือ OVERSOLD

3. ดูการเหวี่ยงตัวของ 14 RSI ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (FAILURE SWING) โดยการตวัดกลับครั้งต่อไปไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในบริเวณเขต OVERBOUGHT หรือ OVERSOLD

TOP FAILURE SWING เกิดขึ้นเมื่อยอดแหลมของ RSI อยู่เหนือเส้น 70 (A) และยอดสูงใหม่ © อยู่ต่ำกว่ายอดสูงเก่า (A) โดย TOP FAILURE SWING จะสมบูรณ์ เมื่อเส้น RSI เคลื่อนที่จากจุดยอด © ลงต่ำกว่าจุดต่ำสุด (B) ทีอยู่ระหว่างยอดสูงทั้งสอง (A และ C)

สัญญาณการขายจะมีอยู่ 3 ช่วง

เมื่อเส้น RSI อยู่เหนือเส้น 70 ที่ยอดสูง (A)
เมื่อเส้น RSI ไม่ทะลุเส้นต้าน (AC)
เมื่อเส้น RSI ทะลุเส้นหนุน (B)
โดยทั่วไปแล้วสัญญาณขายตามข้อ 3. จะมีความแม่นยำสูงสุด

BOTTOM FAILURE SWING เกิดขึ้นเมื่อจุดฐานของ RSI อยู่ต่ำกว่าเส้น 30 A) และจุดฐานใหม่ (C) อยู่สูงกว่าจุดฐานเก่า (A) โดย BOTTOM FAILURE SWING จะสมบูรณ์เมื่อเส้น RSI เคลื่อนที่จากจุดฐาน (C) ขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุด (B) ที่อยู่ระหว่างจุดฐานทั้งสอง (A และ B)

สัญญาณการซื้อจะมีอยู่ 3 ช่วง

เมื่อเส้น RSI อยู่ต่ำกว่าเส้น 30 ที่จุดฐาน (A)
เมื่อเส้น RSI ไม่ทะลุเส้นหนุน (AC)
เมื่อเส้น RSI ทะลุเส้นต้าน (B)
โดยทั่วไปแล้วสัญญาณซื้อตามข้อ 3. จะมีความแม่นยำสูงสุด

4. การดูแนวหนุนและแนวต้าน บางครั้ง RSI จะแสดงระดับของแรงหนุน-แรงต้านได้ชัดเจนกว่าแผนภูมิราคา โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้ม เช่น TRENDLINES, MOVING AVERAGES

5. การแยกทางออกจากกันระหว่างแผนภูมิราคากับ RSI

NEGATIVE DIVERGENCE

ในตลาดที่มีแนวโน้มขึ้น เมื่อเกิดลักษณะการเคลื่อนที่แยกทางกัน (DIVERGENCE) โดยเกิดขึ้นเมื่อราคาใหม่ (C) ขึ้นสูงกว่ายอดสูงของราคาเก่า (A) แต่ RSI ยอดใหม่ (C) อยู่ต่ำกว่า RSI ยอดเก่า (A) ตรงจุดนี้จะเป็นสัญญาณเตือนว่าการวิ่งขึ้นของราคาจะวิ่งต่อไปได้อีกไม่นาน แล้วจะปรับตัวลงมาตาม RSI

POSITIVE DIVERGENCE

ในตลาดที่ราคามีแนวโน้มลดลง เมื่อยอดต่ำใหม่ของราคา (C) อยู่ต่ำกว่ายอดต่ำเก่าของราคา (A) ในขณะที่ RSI ยอดใหม่ (C) อยู่สูงกว่า RSI ยอดเก่า (A) ตรงจุดนี้จะเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาน่าจะสามารถสะท้อนกลับสูงขึ้นได้ในไม่ช้านี้ หรืออาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า การลดต่ำลงของราคานั้นใกล้จะจบลง

ข้อสังเกตของ RSI

1. ปกติยอดสูงที่สูงกว่า 70 และยอดต่ำที่ต่ำกว่า 30 จะมีความสำคัญในการวิเคราะห์

2. FAILURE SWINGS (SUPPORT AND RESISTANCE PENETRATION) จะเป็นสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของราคา

3. โดยทั่วไปแล้ว RSI จะแสดงระดับแรงหนุน และแรงต้านได้ชัดกว่าราคา

4. เมื่อ RSI เคลื่อนที่ไม่ตามกันกับราคา (DIVERGENCE) จะชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ราคาจะเปลี่ยนไปตามทิศทางของ RSI



Indicators ที่ได้รับความนิยม

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง / แยกทาง MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE




เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีจะให้สัญญาณซื้อขายที่ถูกต้อง ชัดเจน ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เครื่องมือที่เหมาะสำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้น - ปานกลาง (4-6 อาทิตย์) ที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงกว้าง ๆ คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง - แยกทาง (MACD)

MACD เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่สร้างขึ้น และพัฒนาโดย GERALD APPEL ในปี ค.ศ.1979 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับราคา (TREND FOLLOWING) สามารถใช้วัดระดับ (DEGREE) ตลาดว่าเป็นตลาด BULL หรือตลาด BEAR

วิธีการคำนวณ

เส้น MACD สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 25 (หรือ 26 วัน) มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า

การให้สัญญาณซื้อขายที่นิยมวิธีหนึ่งของ MACD คือ การใช้สัญญาณ (SIGNAL LINE) ตัดกับเส้น MACD

MACD = EMA (12 DAYS) - EMA (25 DAYS)
SIGNAL LINE = EMA 9 DAYS OF MACD
EMA = EXPONENTIAL MOVING AVERAGE

เส้น MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) จะเหวี่ยงตัวอยู่บนกราฟที่มี SCALE 0 เป็นค่าแกนกลาง

หลักการวิเคราะห์

1. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขึ้นระยะกลาง
2. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มลงระยะกลาง
3. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL)
4. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มลดลง เป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL)
5. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
6. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
7. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับยอดเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
8. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับฐานเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น
9. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นบวก แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BULL
10. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นลบ แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BEAR

ข้อสังเกต

เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบ MACD นี้ อาจมีข้อจำกัดสำหรับตลาดหุ้นไทย ในความเป็นจริง คือ MACD มักจะให้สัญญาณซื้อขายค่อนข้างช้า ดังนั้น จึงควรนำเอาเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้สำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้นมาประกอบพิจารณาในการซื้อขายด้วย เช่น STOCHASTIC และ MOMENTUM เป็นต้น

การใช้เครื่องมือ MACD เพียงอย่างเดียว มักจะทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงควรนำหลักการของ DIVERGENCE มาประกอบการตัดสินใจ

การแยกตัวออกจากกันของ MACD กับดัชนีราคา (DIVERGENCE)

DIVERENCE คือ การแยกตัวออกจากกันของ MACD กับราคาหุ้นมี 2 ลักษณะคือ

1. NEGATIVE DIVERGENCE จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวลงสวนทางกับการสูงขึ้นของดัชนีราคา เป็นการเตือนว่าราคาหุ้นอาจมีการปรับตัวลง

2. POSITIVE DIVERGENCE จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับการลดลงของดัชนีราคา เป็นการบอกว่าการลดลงของราคาหุ้นใกล้สิ้นสุด

เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงสุด ผู้ลงทุนควรจะรอจนกว่าจะเห็นรูปแบบ NEGATIVE หรือ POSITIVE DIVERGENCE เสียก่อน และควรใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ มาประกอบด้วย MACD OSCILLATOR (MACDO)

MACD OSCILLATOR (MACDO)

MACD OSCILLATOR คือ การเปลี่ยนเส้น MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ให้เป็นเส้นดัชนีเส้นเดียวที่เคลื่อนไหวอยู่รอบเส้นศูนย์

วิธีการคำนวณ

MACD OSCILLATOR = MACD - SIGNAL LINE

หลักการวิเคราะห์

คือ ถ้า MACD OSCILLATOR ตัดเส้นศูนย์ขึ้นเป็นสัญญาณซื้อ และตัดเส้นศูนย์ลงเป็นสัญญาณขาย

MACD OSCILLATOR ให้สัญญาณเหมือนกับ MACD ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าชอบแบบใด

MOVING AVERAGE OSCILLATOR (MAO)

M/A OSCILLATOR เป็นเครื่องมือที่แสดงความแตกต่างระหว่างเส้นราคาเฉลี่ย 2 เส้น ว่าระดับราคาเฉลี่ยเส้นหนึ่งเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำลงจากราคาเฉลี่ยอีกเส้นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ มากน้อยเพียงไร จำนวนวันที่นำมาคำนวณหาราคาเฉลี่ยทั้ง 2 เส้นนี้ไม่กำหนดแน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้ใช้

วิธีการคำนวณ

M/A OSCILLATOR = ราคาเฉลี่ย 1 - ราคาเฉลี่ย 2
= MA1 - MA2

MA1 = ราคาเฉลี่ยฯกี่วันก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นราคาปิดของแต่ละวัน
MA2 = ราคาเฉลี่ยฯที่มีจำนวนวันมากกว่า MA1 จำนวนวันที่นำมาหา
ราคาเฉลี่ยมีทั้งในระยะสั้นและกลาง โดยในระยะสั้นจะใช้ค่าเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 10 ส่วนในระยะกลางจะใช้ค่าเฉลี่ยในระยะ 25 ถึง 75 วัน

หลักการวิเคราะห์

1. ในระยะปานกลาง เส้นศูนย์จะเป็นแนวรับในแนวโน้มขึ้น และเป็นแนวต้านในแนวโน้มลง แสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม (TREND) ของราคาหุ้น คือ

ถ้า MAO เป็นบวกและอยู่เหนือเส้นศูนย์ แสดงว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขึ้น
ถ้า MAO เป็นลบและอยู่ต่ำกว่าเส้นศูนย์ แสดงว่าราคาอยู่ในแนวโน้มลง

2. ในระยะสั้น

ในแนวโน้มขึ้น ถ้า MAO มีค่าเป็นบวกและอยู่สูงในระดับใกล้เคียงยอดเก่า แสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) ราคาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง จึงอาจมีการทรงตัวหรือปรับตัวลง เป็นสัญญาณให้ขาย
ในแนวโน้มลง ถ้า MAO มีค่าเป็นลบและอยู่ต่ำในระดับใกล้เคียงมาตรฐาน แสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะขายมากเกินไป (OVERSOLD) ราคาอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงอาจมีการทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น เป็นสัญญาณให้ซื้อ

เส้นหุ้นบวก / ลบสะสม
ADVANCE / DECLINE LINE (A/D LINE)

ความหมายและการคำนวณ

A/D LINE เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอีกชนิดหนึ่ง ใช้มองแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ของทิศทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มหุ้น ซึ่งหาได้จากผลต่างสะสมของจำนวนหุ้นบวก (หุ้นที่ราคาปิดสูงขึ้นจากวันก่อนหน้า) กับจำนวนหุ้นลบ (หุ้นที่ราคาปิดต่ำลงจากวันก่อนหน้า) โดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้
A/D = (A-D) + A/D ของวันก่อนหน้า

A = จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดเปลี่ยนแปลงเป็นบวก
D = จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดเปลี่ยนแปลงเป็นลบ
หมายเหตุ A/D LINE จะไม่นำ VOLUME ในการซื่อขายเข้ามาคำนวณด้วยเลย

ความสัมพันธ์ระหว่าง A/D LINE กับดัชนีตลาดฯ

ความสัมพันธ์มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

1. CONVERGENCE หมายถึงการที่ A/D LINE กับดัชนีตลาดฯ เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่า ดัชนีตลาดฯ จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางนั้นต่อไป

BEARISH CONVERGENCE ถ้าดัชนีตลาดฯ มีจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม และ A/D LINE ก็มีจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิมเช่นกัน เป็นการบอกแนวโน้มว่าดัชนีตลาดฯ จะลดลงต่อไปอีก

BULLISH CONVERGENCE ในทิศทางตรงกันข้ามถ้าดัชนีตลาดฯ มีจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิม และ A/D LINE ก็มีจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิมเช่นกัน จะบอกถึงแนวโน้มดัชนีตลาดฯ ว่าจะขึ้นไปต่อ

2. DIVERGENCE หมายถึงการที่ A/D LINE กับดัชนีตลาดฯ เคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งแยกเป็น 2 ลักษณะคือ

BEARISH DIVERGENCE คือ การแยกตัวออกจากกันของ A/D LINE กับดัชนีตลาดฯ โดยที่ดัชนีตลาดยังคงเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกับตัว A/D LINE กลับต่ำลงเรื่อย ๆ

ลักษณะเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ลงทุนระวังว่า ตัวดัชนีตลาดฯ อาจมีแนวโน้มที่จะตดลงมาซึ่งสัญญาณเตือนนั้นอาจใช้ระยะเวลาเป็นเดือน หรือหลายเดือนกว่าที่ดัชนีตลาดฯ จะตกลงมาจริง แต่ยิ่ง A/D LINE และดัชนีตลาดฯ แยกตัวออกจากกันนานเท่าไหร่ ดัชนีตลาดฯ ยิ่งมีโอกาสจะตกลงมามากเท่านั้น

ดังนั้น เมื่อเกิดสัญญาณเตือนในลักษณะนี้ขึ้นมา ผู้ลงทุนจึงยังไม่จำเป็นที่จะต้องออกจากตลาดทันที แต่ขอแนะนำให้ผู้ลงทุนปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

ลดขนาดของการลงทุน
การลงทุนควรที่จะเป็นการลงทุนระยะสั้น (เข้าไวออกไว)
เลือกลงทุนในหุ้นที่นิยมเล่นกันในขณะนั้น

BULLISH DIVERGENCE คือ การแยกตัวออกจากกันของ A/D LINE กับดัชนีตลาดฯ ในลักษณะที่ดัชนีตลาดฯ อยู่ในช่วงลดลง ขณะที่ A/D LINE กลับเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มสูงขึ้น

ลักษณะเช่นนี้เป็นการบอกเราว่า ดัชนีตลาดฯ มีแนวโน้มที่จะดีดตัวกลับ เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่เริ่มที่จะมีราคาเพิ่มขึ้นแล้ว

การประยุกต์ใช้ A/D LINE โดยการนำเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) มาใช้ประกอบการวิเคราะห์

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ A/D LINE สามารถใช้บอกแนวรับ (SUPPORT) และแนวต้าน (RESISTANCE) ได้เช่นเดียวกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของดัชนีตลาดฯ และในบางครั้ง จะให้สัญญาณเตือนที่เร็วกว่าด้วย

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์แต่ละท่าน แต่ที่นิยมใช้ในตลาดหุ้นไทย คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน 25 วัน 75 วัน และ 200 วัน ของ A/D LINE ซึ่งมีลักษณะเหมือนเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของดัชนีตลาดฯ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ดังกล่าวข้างต้นนี้เอง ที่ถือเป็นแนวรับและแนวต้านสำหรับเส้น A/D LINE โดยกรณีที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดเส้นหนึ่งอยู่เหนือ A/D LINE ณ ระดับนั้นถือเป็นแนวต้าน และถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดอยู่ใต้ A/D LINE ณ ระดับนั้นก็ถือเป็นแนวรับ

ส่วนกรณีสัญญาณที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น สัญญาณในทางบวก (POSITIVE) โดยเกิดเมื่อ A/D LINE เคลื่อนที่ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดเส้นหนึ่งขึ้นไป และสัญญาณในทางลบ (NEGATIVE) ที่เกิดจาก A/D LINE เคลื่อนที่ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดเส้นหนึ่งลงมา

หมายเหตุ สัญญาณบวกหรือลบที่เกิดมาจาก A/D LINE นี้จะมีน้ำหนักน้อยกว่าสัญญาณซื้อและขายของดัชนีตลาดฯ และสัญญาณเหล่านี้เมื่อเกิดจะถือเป็นตัวสนับสนุนการขึ้นหรือลงของดัชนีฯ (กรณี A/D LINE มีทิศทางเดียวกับดัชนีฯ) หรือถ่วงการขึ้นหรือลงของดัชนีฯ (กรณี A/D LINE มีทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนีฯ)



Indicators ที่ได้รับความนิยม

โบลินเจอร์ แบนด์ BOLLINGER BANDS



BOLLINGER BANDS เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจาก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ (MOVING AVERAGE ENVELOPES) โดยนาย จอห์น โบลินเจอร์ (JOHN BOLLINGER) เนื่องจากเขาได้ศึกษาแนวคิดของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ แล้วพบว่าแนวคิดนี้มีจุดอ่อนคือ

1. ในสถานะภาพของตลาดที่แตกต่างกัน ควรใช้ช่วงห่างของช่องการซื้อขาย (TRADING BANDS) ที่แตกต่างกัน

2. ช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ชั่วโมง วัน สัปดาห์ ฯลฯ ควรใช้ระยะห่างของช่องการซื้อ ขาย (TRADING BANDS) ที่แตกต่างกัน แม้จะใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อติดตามลักษณะการเคลื่อนไหวของราคา และสถานะ ณ จุดนั้น ๆ

BOLLINGER BANDS มีลักษณะคล้ายกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ ที่ประกอบไปด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) เส้นกรอบบน (UPPER BAND) และเส้นกรอบล่าง (LOWER BAND)

BOLLINGER BANDS เป็นกรอบการซื้อขายที่มีระยะห่างจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งเท่ากับ 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (STANDARD DEVIATION) แล้วเขียนเส้นคู่ไปกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งด้านบน และด้านล่าง เมื่อมีการเคลื่อนที่ของหุ้นอย่างรุนแรง ช่องการซื้อขายจะขยายตัวห่างออกจากกัน แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวของราคาน้อย ช่องการซื้อขายจะบีบตัวแคบลง

จอห์น ได้ทดลองใช้ช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ 5 วัน จนถึง 200 วันในการเขียนเส้น BOLLINGER BANDS ทำให้เขาทราบว่าการใช้จำนวนวันที่น้อยกว่า 10 วัน นั้นไม่ดีเท่าที่ควรและเขาเห็นว่าการใช้ 20 วันในการคำนวณนั้นดีที่สุด ส่วนช่วงเวลาที่มากกว่า 50 วัน เหมาะสำหรับระยะยาว

ปกติการเขียนรูป BOLLINGER BANDS จะคู่ไปกับราคาหุ้น หรือเครื่องมือทางเทคนิคที่ต้องการวิเคราะห์อื่น ๆ และเนื่องจากช่องว่างระหว่าง BOLLINGER BANDS จะขึ้นอยู่กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาหุ้น ดังนั้น BOLLINGER BANDS จะกว้างขึ้น ถ้าราคาหุ้นมีการเหวี่ยงตัวรุนแรง และแคบลงในกรณีซบเซา หรือ SIDEWAYS

BOLLINGER BANDS ใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้นได้ดังนี้

1. ถ้ามีจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นนอกช่องการซื้อขาย แล้วตามด้วยจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นภายในช่องการซื้อขาย แสดงถึงการเกิดโอกาสกลับตัวของแนวโน้มจากลงมาเป็นขึ้น (เป็นสัญญาณให้ซื้อ) ในทางกลับกัน ถ้ามีจุดสูงสุดที่เกิดขึ้นนอกช่องการซื้อขาย แล้วตามด้วยจุดสูงสุดที่เกิดขึ้นภายในช่องการซื้อขาย แสดงถึงการเกิดโอกาสกลับตัวของแนวโน้มจากขึ้นมาเป็นลง (เป็นสัญญาณให้ขาย)

2. ราคาที่เพิ่มขึ้นจนถึงเส้นกรอบบน แล้วปรับตัวลงมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ (เส้นกลาง) แสดงว่าแนวโน้มราคาเปลี่ยนเป็นลง (เป็นสัญญาณให้ขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจน ชนเส้นกรอบล่าง แล้วปรับตัวสูงขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ (เส้นกลาง) แสดงว่าแนวโน้มราคาเปลี่ยนเป็นขึ้น (เป็นสัญญาณให้ซื้อ)






Indicators ที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ MOVING AVERAGE ENVELOPES

เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โดยการหาช่องการซื้อขายหุ้น (TRADING BANDS) เพื่อนำมาเป็นกรอบบน (UPPER BAND) และกรอบล่าง (LOWER BAND) สำหรับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 

โดยวิธีการเคลื่อนเส้นค่าเฉลี่ย (เส้นใดเส้นหนึ่งตามแต่เราจะเลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน 25 วัน หรือ 75 วัน) ขึ้นและลง ในลักษณะเป็นแนวตั้งฉากเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นจุดศูนย์กลาง และลากเส้นขนานไปกับเส้นค่าเฉลี่ยที่โดยมีระยะห่างที่คงที่ กรอบบนและกรอบล่างดังกล่าวนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวกลั่นกรอง (FILTER) สัญญาณซื้อหรือขาย จากการที่ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นหรือลง 

ทั้งนี้เนื่องจากการที่นักลงทุนใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียวมาวิเคราะห์ โดยการหาสัญญาณซื้อขายเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นหรือลง ทำให้นักลงทุนต้องพบกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเช่น เมื่อเส้นราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นไปตามทฤษฎีซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกให้นักลงทุนซื้อหุ้น 

และเมื่อนักลงทุนซื้อหุ้นนั้นแล้ว บางครั้งราคากลับไม่ยอมขึ้นไปต่อตามสัญญาณที่บอก แต่กลับดีดตัวลงทำให้นักลงทุนต้องสูญเสียการทำกำไรไป ดังนั้นเครื่องมือวิเคราะห์ตัวนี้จึงเป็นตัวที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนได้

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น โดยมีเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อยู่ตรงกลาง และมีเส้นขนานทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยเส้นขนานด้านบนเรียกว่า กรอบบน (UPPER BAND) ส่วนเส้นขนานด้านล่างเรียกว่า กรอบล่าง (LOWER BAND)

และสามารถหาได้จากสูตร

BU = Mat + cMAt
BL = Mat - cMAt



โดยที่:
BU = เส้นกรอบบน
BL = เส้นกรอบล่าง
c = เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่าง 0 ถึง 100
MAt = เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10, 25, 75, 200, ….

ช่องว่างระหว่างกรอบบนและกรอบล่าง จะเรียกว่า ช่องการซื้อขายหุ้น (TRADING BANDS) ที่เกิดขึ้นจากช่องว่างระหว่างกรอบบนกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และกรอบล่างกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่จะมีขนาดกว้างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่ที่เราจะเป็นผู้กำหนด 

แต่โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 และช่องระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และเส้นกรอบบน เรียกว่า ความเสี่ยงในการซื้อ (BUYING RISK) ส่วนช่องว่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับเส้นกรอบล่าง เรียกว่า ความเสี่ยงในการขาย (SELLING RISK) กรอบบนจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน

เมื่อราคาหุ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นมาพบกับเส้นกรอบบน ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะดีดตัวกลับลงมาได้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งขึ้นมาถึงเส้นกรอบบน ในทางกลับกันกรอบล่างจะทำหน้าที่เป็นแนวรับ เมื่อราคาหุ้นผ่านแล้วค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมาพบกับเส้นกรอบล่างราคาหุ้นก็มีโอกาสที่จะเด้งกลับขึ้นมาได้ ณ จุดดังกล่าว นักลงทุนจึงควรจะซื้อหุ้น


รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE (HMA)

HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE เป็นวิธีที่ปรับใช้ตัวแปรสำหรับถ่วงน้ำหนักให้กับข้อมูลราคา โดยมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์แบบ SPECTRAL ANALYSIS หรือวิธี HAMMING



การเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแบบ HAMMING จะให้ผลที่ถูกต้องต่อข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวแบบวัฏจักร (CYCLE) ดีกว่าวิธีหาเส้นค่าเฉลี่ยแบบดั้งเดิม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของราคาที่ผิดปกติ และให้ความถูกต้องในการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มได้ดีกว่า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการใช้ค่าเฉลี่ยโดยวิธีนี้กับการเฉลี่ยแบบอื่น ๆ จะพบว่าวิธี HAMMING AVERAGE นี้อาจช่วยหาสัญญาณซื้อขายได้ดีกว่าวิธีอื่น ๆ



รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL MOVING AVERAGE (EMA)

วิธีนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น

วิธีนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญของเวลาในการวิเคราะห์ ราคาทุกราคาจะมีผลต่อค่าของ EMA แม้ว่าราคาล่าสุดจะมีความสำคัญมากที่สุดก็ตาม ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา

ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธี

การสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ

EMA = EMAt-1 + SF(Pt - EMAt-1)




เมื่อ EMAt คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
EMAt-1 คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ คาบเวลาก่อนหน้า
SF คือ ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n+1)
Pt คือ ราคาปัจจุบัน
n คือ จำนวนวัน

หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ราคาในวันแรกนั้นเป็น EMA


รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ MODIFIED MOVING AVERAGE

วิธีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับวิธี SMA แต่ค่าที่ได้มักจะไม่ค่อยไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็วเหมือนกับ SMA หรือ WMA และเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายซึ่งสามารถคำนวรด้วยมือได้ เพราะใช้เพียงค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังไป 1 คาบเวลา

โดยมีสูตรการปรับค่าเฉลี่ยฯ ดังนี้

MMAt = MMAt-1 + [Pt - (MMAt-1)] / n



โดยที่ :

MMAt คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ณ วันปัจจุบัน
MMAt-1 คือ ค่าเฉลี่ยฯ ย้อนหลังไป 1 คาบเวลา
Pt คือ ราคาปัจจุบัน
n คือ จำนวนวัน
หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ SMA



รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ